วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กีฬาลีลาศ1


 ประวัติกีฬาลีลาศทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ประวัติความเป็นมา

            ในสมัยดึกดำบรรพ์ ชาวโรมันมีการเต้นรำเพื่อแสดงความกล้าหาญ ผู้ที่มีชื่อเสียงในการเต้นตำของโรมันคือ ซีซีโร (Cicero : 106 – 43 B.C.)
            การเต้นรำแบบบอลรูม เริ่มตั้งแต่สมัยพระนางเจ้าอลิซาเบ็ธที่ 1 ซึ่งสมัยนั้นครั่งไคล้การเต้นรำที่เรียกว่า “โวลต้า” (Volta) ซึ่งมีการจับคู่แบบวอลซ์ในปัจจุบัน การเต้นแบบโวลต้านั้นฝ่ายชายจะช่วยให้ฝ่ายหญิงกระโดดขึ้นในอากาศด้วย ซึ่งพระราชินีเอง ทรงพอพระทัยมาก
            เช็คสเปียร์ (Shakespeare : 1564 – 1616) อยู่ในกรุงลอนดอนหลายปี ได้กล่าวไว้ในบทละครเรื่องพระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 ว่า มีการเต้นอีกอย่างเรียกว่า “โคแรนโท หรือ โคแรนเท” (Courante)
            สมัยศตวรรษที่ 17 การเต้นรำมีแบบแผนมากขึ้น จอห์น วีเวอร์ และ จอห์น เพทฟอร์ด (John Weaver & John Playford) เป็นนักเขียนชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียง เพลฟอร์ด ได้เขียนเกี่ยวกับการเต้นรำแบบเก่าของอังกฤษ ซึ่งรวบรวมได้ถึง 900 แบบอย่าง
            แซมมวล ไพปส์ (Samuel Pepys : 1632 – 1704) ได้เขียนบันทึกประจำวันในสมัยการปกครองของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 และได้บันทึกไว้เมื่อ ค.ศ.1662 ถึงงานราตรีสโมสร ซึ่งพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ทรงพาสุภาพสตรีออกเต้น “โคแรนโท” (Coranto)
            การเต้นรำได้แพร่เข้ามาประเทศฝรั่งเศส เปลี่ยนมาเรียกเป็นสำเนียงฝรั่งเศสว่า คองเทร ดองเซ่ (Conterdanse) พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงโปรดปรานมากและต่อมาได้แพร่หลายไปยังประเทศอิตาลีและ สเปน
            การเต้นรำแบบบอลรูมในจังหวะวอลซ์ (Waltz) ได้เริ่มขึ้นประมาณ ค.ศ. 1800 เป็นจังหวะที่นิยมกันมากในสมัยนั้น
            ในสมัยพระนางเจ้าวิคตอเรีย (The Victorian Era : 1830 – 80) การไปงานราตรีสโมสร หนุ่มสาวจะไปเป็นคู่ๆ ต้องต่างคนต่างไป และฝ่ายชายจะขอลีลาศกับหญิงคนเดิมมากกว่า 4 ครั้ง ไม่ได้ หญิงโสดก็จะต้องมีพี่เลี้ยงไปด้วย ฝ่ายหญิงจะมีบัตรเล็กๆ สีขาว จดบันทึกไว้ว่า เพลงใดมีชายขอจองลีลาศไว้บ้าง
            ในศตวรรษที่ 20 นิโกรในอเมริกา มีบทบาทมากทางด้านดนตรี และลีลาต่างๆ ในนิวออร์ลีน มีการเล่นดนตรีแบบพื้นเมืองของอาฟริกา ตอนแรกเรียกว่าจังหวะ Syncopation มีท่วงทำนองเร้าใจ และเป็นจุดเริ่มต้นของยุคแจ๊ส (Jazz Age) สมัยเริ่มสงครามโลกครั้งที่ 1 ใหม่ๆ ดนตรีจังหวะนี้ก็เข้ามาแพร่หลายในอังกฤษ พร้อมๆ กันนั้นก็มีจังหวะพื้นเมืองอีกจังหวะหนึ่งมาจากอเมริกาใต้ คือ จังหวะแทงโก (Tango) ซึ่งมีจุดกำเนิดมาจากเพลงพื้นเมืองของพวกคาวบอยในอาร์เยนตินา ยุคนั้นเรียกว่า แร็กโทม์ (Rag – Time) ซึ่งการเต้นไม่มีกฏเกณฑ์อะไร
            ต่อมาประมาณปี ค.ศ.1929 มีครูลีลาศในอังกฤษรวมกันเป็นคณะกรรมการปรับปรุงการลีลาสแบบบอลรูมขึ้นมาเป็นมาตรฐาน 4จังหวะ (ถ้ารวมควิกวอลซ์ด้วยจะเป็น 5 จังหวะ) ถือว่าเป็นแบบฉบับของชาวอังกฤษ คือ วอลซ์ (Waltz) ควิกสเต็ป (Quickstep) แทงโก (Tango) และ ฟอกซ์ทรอต (Fox-trot)
            เนื่องจากอิทธิพลของยุคแจ๊ส (Jazz Age) ก็ได้เกิดการลีลาศแบบลาตินอเมริกา ซึ่งจัดไว้เป็นมาตรฐาน 4 จังหวะ (ถ้ารวมพาโซโดเบิ้ล ก็จะเป็น 5 จังหวะ) คือ รัมบ้า (Rumba) ชา ชา ช่า (Cha – Cha – Cha) แซมบ้า (Samba) และไจว์ฟ (Jive) โดยคัดเลือกจากการลีลาศประจำชาติต่างๆ เช่น แซมบ้าจากบราซิล รัมบ้าจากคิวบา พาโซโดเบิ้ลจากสเปน และไจว์ฟจากอเมริกา
ประวัติการลีลาศของประเทศไทย
 ไม่มีหลักฐานยืนยันได้แน่ชัดว่าการลีลาศในประเทศไทยเกิดขึ้นในสมัยใด สันนิษฐานว่า
ชาวต่างชาติได้นำมาเผยแพร่ในรัชสมัยของพรบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จุลศักราช 1226 จากบันทึกของแหม่มแอนนาทำให้มีหลักฐานเชื่อได้ว่า คนไทยลีลาศเป็นมาตั้งแต่สมัยพระองค์ และ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงรบการยกย่องให้เป็นนักลีลาศคนแรกของไทย ตาม บันทึกกล่าวว่า แหม่มแอนนาพยายามสอนพระองค์ท่านให้รู้จักวิธีการเต้นรำแบบสุภาพซึ่งเป็นที่ นิยมของชาวตะวันตก โดยบอกว่าจังหวะวอลซ์นั้นหรูมาก นิยมเต้นกันในวังของประเทศในแถบยุโรป พร้อมกับแสดงท่าทางการเต้น พระองค์ท่านกลับสอนว่าใกล้เกินไป แขนต้องวางให้ถูก แล้วพระองค์ท่านก็เต้นทำให้แหม่มแอนนาประหลาดใจ จึงไม่สามารถรู้ได้ว่าใครเป็นผู้สอนพระองค์ จึงได้ได้สันนิษฐานกันว่า พระองค์ท่านคงจะศึกษาจากตำราด้วยพระองค์เอง การเต้นรำ


 
     ในสมัยรัชกาลที่ 5 ส่วนใหญ่มีแต่เจ้านายและขุนนาชั้นผู้ใหญ่ที่เต้นรำกันพอเป็น
โดยเฉพาะเจ้านายที่ว่าการต่างประเทศได้มีการเชิญฑูตานุฑูต และแขกชาวต่างประเทศมาชุมนุมเต้น รำกันที่บ้าน เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติในการเฉลิมพระชนมพรรษาหรือเนื่องในวันบรมราชาภิเษก เป็นต้น จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานวังสราญรมย์ ให้เป็นศาลาว่าการกระทรวงการต่างประเทศ งานเต้นรำที่เคยจัดกันมาทุกปีก็ได้ย้ายมาจัดกันที่วังสราญรมย์
      ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทุกปีที่มีงามเฉลิมพระชนมพรรษานิยมจัดให้มีการเต้นรำขึ้นในพระบรมมหาราชวัง โดยมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นประธาน ซึ่งมีเจ้านายและบรรดาฑูตานุฑูตทั้งหลายเข้าเฝ้า ส่วนแขกที่จะเข้าร่วมงานได้ต้องได้รับบัตรเชิญเท่านั้น จึงสามารถเข้าร่วมงานได้


    ในสมัยรัชกาลที่ 7 การลีลาศได้รับความนิยมมากขึ้น จึงมีสถานที่ลีลาศเกิดขึ้นหลายแห่ง

เช่น ห้อยเทียนเหลา เก้าชั้น คาเธ่ย์ และ โลลิต้า เป็นต้น
      ในปี พ.ศ.2475 นายหยิบ ณ นคร ได้ร่วมกับหม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วราวรรณ จัดตั้งสมาคมเกี่ยวกับการเต้นรำขึ้น แต่ไม่ได้จดทะเบียนให้เป็นที่ถูกต้องแต่ประการใด โดยใช้ชื่อว่าสมาคมสมัครเล่นเต้นรำ มีหม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ เป็นนายกสมาคม นายหยิบ ณ นคร
เป็นเลขาธิการสมาคม สำหรับกรรมการสมาคมส่วนใหญ่ก็เป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ได้แก่ หลวงเฉลิม สุนทรกาญจน์ พระยาปกิตกลสาร พระยาวิชิต หลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ หลวงชาติตระการโกศล และ นายแพทย์เติม บุนนาค สมาชิกของสมาคมส่วนมากเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มักพาลูกของตนมาเต้นรำด้วย ทำให้มีสมาชิกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการจัดงานเต้นรำชึ้นบ่อยๆ ที่สมาคมคณะราษฎร์และวังสราญรมย์ สำหรับวังสราญรมย์นี้เป็นสถานที่ที่จัดให้มีการแข่งขันเต้นรำขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งผู้ชนะเลิศเป็นแชมเปียนคู่แรกคือ พลเรือตรีเฉียบ แสงชูโต และประนอม สุขุม


     ในช่วงปี พ.ศ.2475-2476 มีนักศึกษากลุ่มหนึ่งเรียกสมาคมสมัครเล่นเต้นรำว่าสมาคม... (คำผวนของคำว่าเต้นรำ) ซึ่งฟังแล้วไม่ไพเราะหู ดังนั้นหม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ จึงบัญญัติศัพท์คำว่า ลีลาศ ขึ้นแทนคำว่า เต้นรำ ต่อมาสมาคมสมัครเล่นเต้นรำก็สลายตัวไป แต่ยังคงมีการชุมนุมกันของครูลีลาศอยู่เสมอ โดยมีนายหยิบ ณ นคร เป็นผู้ประสานงาน
       การลีลาศได้ซบเซาลงในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จนกระทั่งสงครามสงบลงในเดือน
กันยายน พ.ศ. 2488 วงการลีลาศของไทยเริ่มฟื้นตัวขึ้นใหม่ มีโรงเรียนสอนลีลาศเกิดขึ้นหลายแห่งโดยเฉพาะสาขาบอลรูมสมัยใหม่ ( Modern Ballroom Branch ) ซึ่งอาจารย์ยอด บุรี ได้ไปศึกษามาจากประเทศอังกฤษและเป็นผู้นำมาเผยแพร่ ช่วยทำให้การลีลาศซึ่งศาสตราจารย์ศุภชัย วานิชวัฒนาเป็นผู้นำอยู่ก่อนแล้วเจริญขึ้นเป็นลำดับ
     ในปี พ.ศ.2491 มีบุคคลชั้นนำในการลีลาศซึ่งเคยเป็นผู้ชนะเลิศการแข่งขันลีลาศสมัย
สงครามโลกครั้งที่ 2 อาทิ อุไร โทณวณิก กวี กรโกวิท จำลอง มาณยมณฑล ปัตตานะ เหมะสุจิ และ นายแพทย์ประสบ วรมิศร์ ได้ร่วมกันก่อตั้งสมาคมลีลาศแห่งประเทศไทยขึ้น โดยสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ อนุญาตให้จัดตั้งได้เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ.2491 มีหลวงประกอบนิติสาร เป็นนายกสมาคมคนแรก ปัจจุบันสมาคมลีลาศแห่งประเทศไทยเป็นสมาชิกของสภาการลีลาศนานาชาติด้วยประเทศหนึ่ง
    หลังจากนั้นการลีลาศในประเทศไทยก็เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย มีสถานลีลาศเปิดเพิ่มมาก
ขึ้น มีการจัดแข่งขันลีลาศมากขึ้น ประชาชนสนใจเรียนลีลาศกันมากขึ้น มีการจัดตั้งสมาคมครูลีลาศ ขึ้นสำหรับเปิดสอนลีลาศ และยังได้จัดส่งนักลีลาศไปแข่งขันในต่างประเทศและจัดแข่งขันลีลาศนานาชาติขึ้นในประเทศไทย ในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้กำหนดให้โรงเรียนสอนลีลาศต่างๆ อยู่ในสังกัดของกระทรวงศึกษาธิการ และมีการกำหนดหลักสูตรลีลาศขึ้นอย่างเป็นแบบแผนทำให้การลีลาศมรมาตรฐานยิ่งขึ้น ส่งผลให้การลีลาศในประเทศไทยเป็นที่ยอมรับและนิยมในวงการทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค นักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชนให้ความสนใจ ทำให้มีโรงเรียนหรือสถาบันเปิดสอนลีลาศขึ้นเกือบทุกจังหวัด สำหรับในสถานศึกษาก็ได้มีการจัดวิชาลีลาศเข้าไว้ในหลักสูตรตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษาปัจจุบันลีลาศได้รับการรับรองให้เป็นกีฬาจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee = IOC ) อย่างเป็นทางการมรการประชุมครั้งที่ 106 วันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2540 ณ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สำหรับในประเทศไทยคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ในสมัยที่มีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการ ได้มีมติรับรองลีลาศเป็นการกีฬาอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2541 จัดเป็นกีฬาลำดับที่ 45 ของการกีฬาแห่งประเทศไทย และยังได้จัดให้มีการแข่งขันกีฬาลีลาศ ( สาธิต )ขึ้นเป็นครั้งแรกในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ณ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 6-20 ธันวาคม พ.ศ.2541

ประเภทของลีลาศ

การลีลาศตามหลักมาตรฐานสากล หรือการเต้นรำแบบบอลรูม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

 1. ประเภทบอลรูม หรือโมเดิร์น หรือสแตนดาร์ด (Ballroom or Modern or Standard)
 การลีลาศประเภทนี้จะมีลักษณะการเต้นและท่วงทำนองดนตรีที่เต็มไปด้วยความสุภาพ นุ่มนวล
อ่อนหวาน สง่างาม และเฉีบยขาด ลำตัวของผู้ลีลาศจะตั้งตรงผึ่งผาย ขณะก้าวนิยมลากเท้าสัมผัสไปกับพื้น จังหวะที่จัดอยู่ในการเต้นรำประเภทนี้มี 5 จังหวะ คือ
 1.1 ควิกสเตป (Quick Step)
 1.2 วอลซ์ (Waltz)
 1.3 ควิกวอลซ์ หรือเวียนนิสวอลซ์ (Quick Waltz or Viennese Waltz)
 1.4 สโลว์ฟอกซ์ทรอต (Slow Foxtrot)
 1.5 แทงโก้ (Tango)
 2. ประเภทละตินอเมริกัน (Latin American) การลีลาศประเภทนี้จะมีลักษณะการเต้นที่คล่องแคล่ว ปราดเปรียวกว่าประเภทบอลรูม ส่วนใหญ่จะใช้สะโพก เอว ขา และข้อเท้าเป็นส่วน

ใหญ่ ท่วงทำนองดนตรี และจังหวะจะเร้าใจและสนุกสนานร่าเริง จังหวะที่จัดอยู่ในการเต้นรำนี้มี 5 จังหวะ คือ
2.1 คิวบัน รัมบ้า (Cuban Rumba)
 2.2 ชา ชา ช่า (Cha Cha Cha)
 2.3 แซมบ้า (Samba)
2.4 ไจฟว์ (Jive)
 2.5 พาโซโดเบล้ หรือพาโซโดเบิ้ล (Paso Doble)
 สำหรับการลีลาศในประเทศไทยนั้น ยังมีการเต้นรำที่จัดอยู่ในประเภทเบ็ดเตล็ด (Pop and
social Dance) อีกหนึ่งประเภท ซึ่งจังหวะที่นิยมลีลาศกัน ได้แก่ จังหวะบีกิน (Beguine) อเมริกัน รัมบ้า (American Rumba) กัวราช่า (Guaracha) ออฟบีท (Off-Beat) ตะลุง เทมโป้ (Taloong Tempo)และร็อค แอนด์ โรลล์ (Rock and Roll) เป็นต้น__
ประเภทและประวัติจังหวะการเต้นลีลาศ
ยินดีต้อนรับเข้าสู่จังหวะวอลซ์ (Waltz)
             สำหรับบรรดาผู้เข้าแข่งขัน "วอลซ์" จะเป็นจังหวะแรกเสมอ ที่จะแสดงให้ประจักษ์ แก่คณะกรรมการตัดสิน และจะเป็นโอกาสเพียงหนึ่งเดียว ที่จะสร้างความประทับใจ เมื่อแรกเห็น (FIRST IMPRESSION) ลองคำนึงถึงว่าบ่อยครั้งกรรมการตัดสินจะไม่รู้จักคุณเลย และไม่ทราบว่ามาตรฐานการเต้นรำของคุณอยู่ระดับไหน! เมื่อคู่แข่งขันเริ่มย่างลงสู่ฟลอร์ กรรมการตัดสินและผู้ชม(ให้นึกถึงตัวเอง) จะเริ่มกวาดตาเพื่อมองหาคู่ที่เด่นที่สุด หรือแชมเปี้ยนในทันที ข้อควรคำนึง ! ถ้าคุณทำตัวให้ดูเหมือน และประพฤติเฉกเช่นแชมเปี้ยนแล้ว คุณต้องแสดงการเต้นของจังหวะนี้ให้ดูเหมือนแชมเปี้ยนคนหนึ่ง เพื่อยืนยันในการสร้างความประทับใจเป็นครั้งแรกที่สุด โดยดึงดูดความสนใจของกรรมการ และผู้ร่วมชมมายังคู่ของคุณ ตั้งแต่ย่างก้าวแรกที่ลงสู่ฟลอร์การแข่งขัน บรรดาคู่แข่งขันจำนวนไม่น้อยที่ประเมินผลกระทบจากการสร้างความประทับใจครั้งแรกนี้ต่ำเกินไป จังหวะวอลซ์ ยามฝึกซ้อมหรือการวางแผนการเรียนให้คิดถึงความสำคัญของข้อนี้ด้วยต้องคำนึงถึงว่า คู่เต้นรำอื่นๆ อาจเจียดเวลาถึง 40% ของการฝึกซ้อมให้กับจังหวะวอลซ์ และถ้าคุณเป็นหนึ่งในจำนวนนั้นละก็ ถือได้ว่าคุณได้เดินอยู่บนหนทางแห่งความสำเร็จแล้ว

ประวัติของจังหวะ วอลซ์
ช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1910 - 1914 ฝูงชนได้หลั่งไหลไปที่บอสตันคลับ ใน โรงแรมซาวอย ที่ตั้งอยู่ ณ กลางกรุงลอนดอน เพื่อเต้นรำจังหวะ "บอสตัน วอลซ์" ซึ่งเป็นต้นแบบของวอลซ์ ที่ใช้ในการแข่งขันปัจจุบันในปี ค.ศ. 1914 จังหวะบอสตันได้เสื่อมสลายลง เบสิคพื้นฐานได้ถูกเปลี่ยนไปในทิศทางของ "วอลซ์" หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 จังหวะวอลซ์ ได้เริ่มถูกพัฒนาให้ถูกทางขึ้นด้วยท่าแม่แบบ อย่างเช่น THE NATURAL และ REVERSE TURN และ THE CLOSED CHANGE ความก้าวหน้าในการพัฒนา จังหวะ "วอลซ์" เป็นไปอย่างยืดยาด และเชื่องช้า ผู้ที่ได้ทุ่มเทกับการพัฒนาจังหวะนี้เป็นพิเศษ ต้องยกให้ มิส โจส์เซฟฟิน แบรดลีย์ (JOSEPHINE BRADLY) วิคเตอร์ ซิลเวสเตอร์ (VICTOR SILVESTER) และแม็กซ์เวลล์ สจ๊วตค์ (MAXWELL STEWARD) และแพ็ทไซด์ (PAT SYKES) แชมป์เปี้ยนคนแรกของชาวอังกฤษ สถาบันที่ได้สร้างผลงานต่อการพัฒนาแม่แบบต่างๆ ให้มีความเป็นมาตรฐานคือ "IMPERIAL SOCIETY OF TEACHERS" (ISTD) ท่าแม่แบบเหล่านี้ บรรดานักแข่งขันยังคงใช้กันอยู่ถึงปัจจุบัน

ลักษณะเฉพาะของจังหวะ วอลซ์
เอกลักษณ์เฉพาะ                 สวิง และเลื่อนไหล นุ่มนวล เคลื่อนเป็นวง ซาบซึ้งและเร้าอารมณ์
การเคลื่อนไหว    การสวิง ลักษณะแกว่งไกว แบบลูกตุ้มนาฬิกา
ห้องดนตรี            3 / 4
ความเร็วต่อนาที                  28-30 บาร์ต่อนาที สอดคล้องกับกฎของ IDSF
การเน้นจังหวะ    บนบีท (Beat) ที่ 1
เวลาที่ใช้ในการแข่งขัน     1 นาทีครึ่ง ถึง 2 นาที
การขึ้นและลง      เริ่มขึ้นหลังสิ้นสุด 1 ขึ้นต่อเนื่องตอน 2 และ 3 หน่วงลดลง หลังสิ้นสุด 3
หลักพลศาสตร์    ความสมดุลที่ดีสัมพันธ์กับการเลื่อนไหล การใช้น้ำหนัก จังหวะเวลา และการเคลื่อนไหวที่โล่งอิสระ

การสื่อความหมายของจังหวะ วอลซ์
ลักษณะท่าทางอย่างหนึ่งที่ต้องมีให้เห็นจากนักแข่งขัน ไม่ว่าจะระดับไหน คือ ลักษณะการแกว่งไกวของลูกตุ้มนาฬิกา เปรียบเทียบได้กับการแกว่งของลูกตุ้มระฆัง จังหวะวอลซ์ต้องมีการสวิงขึ้น และลงที่มีความสมดุล ในระดับที่ถูกต้อง ด้วยการเคลื่อนไหวที่โล่งอิสระ โครงสร้างของท่าเต้นต้องเป็นแบบที่มีการสวิงโยกย้าย นุ่มนวล เคลื่อนเป็นวง ซึ่งบังเกิดผลให้นักเต้นรำ เคลื่อนที่ไปอย่างเป็นธรรมชาติ และโล่งอิสระร่วมกับการเปลี่ยนแปลงแรงโน้มถ่วง โดยปกติแล้ววอลซ์ ควรประกอบด้วยลวดลายที่สามารถแสดงให้เห็นถึงการควบคุม (CONTROL) ที่ยอดเยี่ยม และเปี่ยมไปด้วยความมั่นใจ ในหลาย ๆ กฎเกณฑ์ ดนตรีจะมีความโรแมนติค ชวนฝัน ละเอียดอ่อน และ เปรียบเสมือนกับสตรีเพศ ซึ่งนี้คือ ข้อที่พึงระมัดระวังถึงของคู่แข่งขันจำนวนมาก เขาต้องปลดปล่อยให้ความรู้สึกไวต่อการรับรู้ถึงจังหวะและอัตราความเร็วของดนตรีและการเตรียมพร้อมที่จะเต้นให้แผ่วเบา อย่างมีขอบเขตและอิสระเหมือนกับทุก ๆ จังหวะ การเต้นจากเท้าส่ง (SUPPORTING FOOT) จะขาดเสียไม่ได้เลย สำหรับ วอลซ์ แล้ว "ชั่วขณะที่" เมื่อเริ่มยืดขึ้น (RISING) จากน้ำหนักเท้าส่งนั้นมีความสำคัญยิ่งการลดลงพื้น (LANDING) ขณะที่หน่วงลง (LOWERING)บนเท้าที่รับน้ำหนัก (SUPPORTING FOOT) ตามความต้องการในแบบฉบับของ วอลซ์ต้องเกร็งยืด (TENSION) และควบคุม (CONTROL)


ยินดีต้อนรับเข้าสู่จังหวะแทงโก้ (Tango)
            ถึงเวลาของแทงโก้แล้ว เปรียบตัวเองว่าเป็นผู้เข้าแข่งขันคนหนึ่ง คุณจะมีเวลาเพียงแค่ 15 วินาที ที่จะผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ จากอาการสวิง และการเคลื่อนไหวที่โล่งอิสระจากการเต้น วอลซ์ จังหวะแทงโก้มีความแตกต่างจากกจังหวะอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด มันไม่มีการขึ้นและลง (RISE AND FALL) ไม่มีการสเวย์ของลำตัว (BODY SWAY) การเปลี่ยนท่าทางการเข้าคู่ (HOLDING) ต้นขาเบี่ยงเข้าหากัน และผู้เต้นควรเตรียมพร้อมทั้ง ร่างกาย และจิตใจเพื่อจะทำให้เกิดอาการกระแทกกระทั้นเป็นช่วง ๆ (STACCATO ACTIONS) ตามที่จังหวะนี้ต้องการ เมื่อจังหวะแทงโก้ตั้งเค้าที่จะเริ่ม คุณลองใส่ความรู้สึกลงไปว่า คุณเป็นผู้ชม หรือผู้เข้าแข่งขันคู่หนึ่งที่อยู่ในสนามแข่งขัน ระดับความตึงเครียดและการเตรียมพร้อมจะมีสูงขึ้นอย่างผิดปกติวิสัย เปรียบเสมือนว่า สงครามย่อย ๆ กำลังจะปะทุขึ้นบนฟลอร์การแข่งขันอย่างไรอย่างนั้น สิ่งที่ข้าพเจ้าพยายามจะอธิบายอยู่ ณ ที่นี้ คือ คู่เต้นรำจำนวนมากไม่เคยได้ฝึกฝนการสับเปลี่ยนโดยฉับพลัน จากการเต้นจังหวะวอลซ์ มาเป็นหลักการพื้นฐานของจังหวะแทงโก้.........เพียงแค่ 15 วินาที! ควรคำนึงถึงเสมอว่าต้นแบบของแทงโก้ เมื่อเริ่มเตรียมเข้าคู่เพื่อการแข่งขัน คุณควรเตรียมพร้อมในการแผ่รัศมีเพื่อที่จะฉายแวว ของความเย่อเหยิ่ง ยะโส ซึ่งเป็นแบบฉบับของชาวสเปน/อาเจนติน่า ก่อนหน้าที่ดนตรีจะเริ่มบรรเลง และ ก่อนที่จะเริ่มในย่างก้าวแรก เหล่ากรรมการตัดสินล้วนเป็นผู้ที่ไวมากต่อการรับรู้ และสังเกตการแผ่รัศมีนี้ ในทันทีทันใดข้อสรุปของข้าพเจ้าตรงนี้คือ การแข่งขันจังหวะแทงโก้นี้ตั้งเค้าก่อนที่ดนตรีจะเริ่มบรรเลงเสียอีก

ประวัติของจังหวะ แทงโก้
           จังหวะมิรองก้า MILONGA คือแม่แบบของจังหวะแทงโก้ ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะคือ การเคลื่อนไหวของ ศีรษะและไหล่ โดยการสับเปลี่ยนทันทีทันใด จากการเคลื่อนไหวสู่ความนิ่งสงบ ต้นศตวรรษที่ 20 ได้มีการเต้นรำจังหวะมิรองก้านี้ ในโรงละครเล็ก ๆ โดยเหล่าชนสังคมชั้นสูงที่มาจากประเทศบราซิล ในช่วงเวลานั้น ชื่อของมันได้ถูกเปลี่ยนจากมิรองก้า เป็นแทงโก้ ชื่อของมิรองก้า ยังมีตำนานเล่าขานอีกมากมาย ที่จะหวนไปสู่ความทรงจำ ที่มีมาจากนครบัวโนส แอเรส (BUENOS AIRES)แห่งประเทศอาร์เจนติน่า จังหวะแทงโก้ได้ถูกแนะนำสู่ทวีปยุโรป ความจริงแล้วเริ่มก่อนในกรุงปารีส ในชุมชนชาวอาร์เจนติน่า กระทั่งปี ค.ศ.1907 แทงโก้ไม่เป็นที่ยอมรับในกรุงลอนดอน การเต้นได้ส่อแนวไปทางเพศสัมพันธ์มากเกินไป และมีคนจำนวนมากคัดค้าน ภายหลังได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบ (STYLISTIC) ไปบ้าง จังหวะแทงโก้ถึงได้รับการยอมรับในกรุงปารีส และลอนดอน ในเวลานั้น (ค.ศ. 1912) ซึ่งเป็นช่วงเวลาของแทงโก้ปาร์ตี้ แทงโก้ทีส์ และแทงโก้ซุปเพียร์ ร่วมกันกับการแสดงของเหล่านักเต้นแทงโก้ระดับมืออาชีพ ในปี ค.ศ.1920/1921



จังหวะแทงโก้ ได้เพิ่มความมาตรฐานมากยิ่งขึ้น ในการร่วมปรึกษาหารือในการประชุมที่มหานครลอนดอน ระหว่างช่วงทศวรรษที่ 30 ลักษณะการกระแทกกระทั้นเป็นช่วงๆ (STACCATO ACTION) ได้ถูกนำเข้าใช้ร่วมในองค์ประกอบท่าเต้นของจังหวะแทงโก้

ลักษณะเฉพาะของจังหวะ แทงโก้
เอกลักษณ์เฉพาะ                 มั่นคงและน่าเกรงขาม โล่งอิสระ ไม่มีการสวิง และเลื่อนไหลการกระแทกกระทั้น เป็นช่วงๆ (Staccato Action)
การเคลื่อนไหว    เฉียบขาด อาการเปลี่ยนแปลงที่สับเปลี่ยนอย่างฉับพลันสู่ความสงบนิ่ง การย่างก้าวที่นุ่มนวลอย่างแมว
ห้องดนตรี            2/4
ความเร็วต่อนาที                  33 บาร์ต่อนาที สอดคล้องกับกฎของ IDSF
การเน้นจังหวะ    บีทที่ 1 และ 3
เวลาที่ใช้ในการแข่งขัน     1 นาทีครึ่ง ถึง 2 นาที
การขึ้นและลง      ไม่มีการขึ้นและลง
หลักพลศาสตร์    ความสมดุลที่ดีร่วมกับการใช้น้ำหนัก จังหวะเวลา และการขับเคลื่อนอย่างโล่งอิสระ

การสื่อความหมายของจังหวะ แทงโก้
ลองพิจารณาซิว่าการเต้นแทงโก้ของคุณ ต้องไม่ดูเหมือนหุ่นยนต์ แต่ท่าทางการเคลื่อนไหวต้องแผ่รังสีคล้ายสัตว์ ดั่งแมว หรือ เสือ นอกเหนือจากนั้น ความสำนึกในหลายๆรูปแบบของการเต้น ต้องใส่ความรู้สึกที่หยิ่งยะโส ตามแบบฉบับของชาวสเปน มันไม่มีการขึ้น และ ลง ไม่มีการสเวย์ของลำตัว ต้นขา และ เข่า เบี่ยงชิดซึ่งกันและกันเล็กน้อย ( ให้นึกถึงความรู้สึกที่เพรียว ชะลูด ) ด้านขอบในของเท้าให้เก็บเข้าหากันเล็กน้อยตลอดเวลา ฝ่ายหญิงให้ยื่นเบี่ยงไปทางขวาของชายมากกว่าที่เคย และสร้างกิริยา ท่าทาง ที่เหย่อหยิ่ง และเชื่อมั่น คู่เต้นรำต้องแผ่รังสี ในการดูดซับความรู้สึกของลำตัวซึ่งกันและกันไว้ สำหรับการเพิ่มแรงโน้มถ่วงที่ลงพื้น มีไว้ในสถานการณ์ที่ต้องการสับเปลี่ยน ให้เป็นอย่างฉับพลันสงบนิ่งการใช้เท้าส่ง (SUPPORTING FOOT) มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเหมือนกับทุกๆ จังหวะ การเคลื่อนลำตัวให้ผ่านเท้า และลีลาท่าทางการก้าวย่างของโครงสร้างท่าเต้น จะเพิ่มศักยภาพให้กับ แทงโก้ของคุณในด้านการแสดงออก รากเหง้าของจังหวะ แทงโก้คือ การเต้นรำที่เหมือน ศิลปะการการละคร และการให้อารมณ์” (DRAMA AND MOOD)การให้จังหวะที่ถูกต้องในรูปแบบท่าเต้นแสดงให้เห็นถึงความเฉียบคม และ ความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างการเคลื่อนไหว และ ความสงบนิ่ง การต่อต้านหรือการต่อสู้ขัดขืน พัฒนาไปสู่คุณภาพของความเฉียบพลัน ในการเคลื่อนไหวของจังหวะ แทงโก้



ยินดีต้อนรับเข้าสู่จังหวะ เวียนนีสวอลซ์ (Viennese Waltz)
              จังหวะเวียนนีสวอลซ์ เป็นจังหวะท่าเต้นรำที่ได้แสดงถึงการมีพลังความอดทน การเคลื่อนไหวที่เป็นอิสระ และการสวิงไปด้านข้าง จังหวะนี้มีรูปแบบการเต้น (FIGURES) ที่น้อยมาก ความเร็วดนตรีนับได้ถึง 60 บาร์/นาที ซึ่งได้บ่งบอกถึงตัวของมันเอง การเต้นจังหวะเวียนนีสวอลซ์นี้ เปรียบเทียบได้กับการแข่งขันวิ่งในระยะทาง 400 เมตร ของนักกีฬา บ่อยครั้งที่คุณเห็นจุดผิดพลาดนี้ เกิดขึ้นบนฟลอร์ของการแข่งขัน ซึ่งเปรียบเสมือนกับการแข่งขันวิ่ง ในระยะทาง 400 เมตร ผู้เข้าแข่งขันเริ่มต้นจังหวะนี้ อย่างเปี่ยมไปด้วยพลัง แต่แล้วก็ไม่สามารถรักษาคุณภาพให้อยู่ในระดับเดิมได้ และเริ่มที่จะทำเทคนิคของการเต้นผิดพลาด เนื่องจากพละกำลังทดถอย และหลังจากนี้แล้ว การเต้นในจังหวะสโลว์ฟอกซ์ทรอต ก็จะมาถึง ควรระมัดระวังที่จะแสดงให้เห็นถึง การเต้นที่โล่งอิสระ และรักษาระดับความเร็วของการเคลื่อนไหวที่เป็นไปอย่างสม่ำเสมอ เมื่อนั้นแล้ว คู่ที่กำลังเต้นอยู่ทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังของคุณ จะถูกนำมาเปรียบเทียบ ซึ่งเป็นการง่ายมากต่อการตัดสินของคณะกรรมการ เป็นการยากมากที่จะได้พบเห็นการเต้นเข้ากับช่วงจังหวะดนตรี (MUSICAL PHRASING) ในระดับนักเต้นรำสมัครเล่น และ ข้าพเจ้าคิดว่ามันไม่ยากนักที่จะเพิ่มเข้าไปในการเต้นเวียนนีสวอลซ์ของคุณ ลองดูซิ !



ประวัติของจังหวะ เวียนนีสวอลซ์
โดยดั้งเดิม เวียนนีสวอลซ์มีความเป็นมาจากทางตอนใต้ของประเทศเยอรมัน แถบเทือกเขาเอลป์ ช่วงศตวรรษ ที่ 18 การเต้น WELLER , WALTZ และ LANDLER ได้ถูกค้นพบ และจังหวะสุดท้าย LANDLER นี่เองที่เป็นต้นแบบดั้งเดิมของ เวียนนีสวอลซ์ ระหว่างปี ค.ศ. 1800 และ ค.ศ. 1820 การก้าวเท้าและรูปแบบท่าเต้นต่างๆ ของจังหวะ LANDLER ได้ถูกลดน้อยลงไปเรื่อยๆ เนื่องจากความเร็วของดนตรี และจากนั้น การเต้น 6 ก้าว ของเวียนนีสวอลซ์ ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นช่วงยุค ซิคตี้ (SIXTIES) ประเทศเยอรมัน และอังกฤษได้มีการถกเถียงกันมาก เกี่ยวกับเรื่องจำนวนของรูปแบบท่าเต้น ที่จะอนุญาตให้บรรจุเข้าในการแข่งขัน ในปี ค.ศ. 1883 I.C.B.D. (INTERNATIONAL COUNCIL OF BALLROOM DANCING) ได้สรุปตกลงใจในขั้นสุดท้าย ดังนี้ NATURAL AND REVERSE TURN , NATURAL AND REVERSE FLECKERS, THE CONTRA CHECK เปลี่ยนจาก REVERSE FLECKERS ไปยัง NATURAL FLECKERS เต้นอยู่บนเวลา หนึ่งบาร์ของดนตรี ในความเห็นของข้าพเจ้า ควรที่จะเพิ่มเติม ฟิกเกอร์ (FIGURES) เข้าไปในเวียนนีสวอลซ์ มากยิ่งขึ้น เพื่อกระตุ้นให้มีการพัฒนาในรูปแบบทิศทางที่แน่นอนขึ้น อย่างเช่น THROWAWAY OVERSWAY, NATURAL HINGE LINE ON RIGHT SIDE , NATURAL OFF – BEAT SPINS ฯลฯ

ลักษณะเฉพาะของจังหวะ เวียนนีสวอลซ์
เอกลักษณ์เฉพาะ                 การโคจรไปโดยรอบ การสวิงที่โล่งอิสระ
การเคลื่อนไหว    เคลื่อนไปข้างหน้า
ห้องดนตรี            3 / 4
ความเร็วต่อนาที                  60 บาร์ต่อนาที สอดคล้องกับกฎของ IDSF
การเน้นจังหวะ    บนบีท (Beat) ที่ 1
เวลาที่ใช้ในการแข่งขัน     1 นาที ถึง 1 นาทีครึ่ง
การขึ้นและลง      ไม่มีการเขย่งขึ้นในการหันวงใน
หลักพลศาสตร์    เลื่อนไหล และ เคลื่อนไปอย่างโล่งอิสระ

การสื่อความหมายของจังหวะ เวียนนีสวอลซ์
จังหวะเวียนนีสวอลซ์เป็นการเต้นรำที่เคลื่อนที่ไปข้างหน้า ในลักษณะโคจรไปโดยรอบ (ROTATING DANCE) ที่ร่วมกับการเน้น บนบีทที่ 1 ของดนตรี ลองคิดถึงว่า ขณะที่กำลังวอลซิ่ง (WALTZING) เคลื่อนไปรอบ ๆ ฟลอร์แข่งขัน คนใดคนหนึ่ง คุณหรือคู่เต้นจะมีโอกาสอยู่ในวงใน (INNER TURN)หนึ่งครั้ง การเลื่อนไหลและการเคลื่อนไปข้างหน้าขณะอยู่วงใน ตัดสินใจได้จากการเลื่อนไหล และ เคลื่อนไปข้างหน้าจากการหันที่อยู่วงนอก (OUTSIDE TURN) บ่อยครั้งที่ฝ่ายชายเคลื่อนไปข้างหน้ามากไปในขณะที่อยู่วงใน ซึ่งทำให้ฝ่ายหญิงเสียการทรงตัว ขณะเต้นอยู่วงนอกการทำสเวย์ ก้าวแรกของ NATURAL TURNมากไป อาจขัดขวางการเคลื่อนไหวของการเลื่อนไหลที่เป็นธรรมชาติของลำตัว ในจังหวะเวียนนีสวอลซ์ สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ก้าวแรกนี้จะไม่มีการสเวย์! คุณอาจจะเหลือสเวย์ที่มีอยู่ก่อนแล้วเล็กน้อย ตอนที่กำลังเริ่มออกเท้าก้าวที่ 1 และก้าวที่ 4 การรวบชิดของเท้าต้องไม่ให้สังเกตุเห็นได้ชัดจากอาการในช่วงบน (TOP LINE) และช่วงศรีษะ (HEAD LINE)


ความมุ่งหมายของการลีลาศ

1. เพื่อให้รู้จักหลักเบื้องต้นของลีลาศ เช่น การยืน การเดิน การจับคู่และการลีลาศ
2. ให้สามารถลีลาศในท่าเบื้องต้นได้ ถูกต้องตามแบบและเข้าจังหวะดนตรีได้
3. เพื่อให้เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีในการลีลาศ
4. เพื่อให้มีมนุษย์สำพันธ์ดี
5. เพื่อให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน
6.เพื่อเป็นการออกกำลังกาย
7. เพื่อให้รู้จักวิธีการต่างๆของลีลาศ 
    ประโยชน์ของการลีลาศ

    1. ก่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินใจ
    
2. ช่วยให้มีบุคลิกภาพด้านการเคลื่อนไหวสง่างามขึ้น
    3. ช่วยให้เป็นคนกล้าแสดงออก
    4. ช่วยให้มีสัมพันธมิตรกว้างขวางขึ้น
    
5. ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดทั้งทางกายและใจ
    
6. ช่วยให้มีสมรรถภาพทางกายดีขึ้น
    7. ช่วยสนองความต้องตามธรรมชาติของมนุษย์ ก่อให้เกิดความพึงพอใจ
    
8. ช่วยจรรโลงวัฒนธรรม
    9. ช่วยให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
   10. ช่วยส่งเสริมสุขภาพทั้งทางกายและจิตใจ ทำให้ชีวิตยืนยาว 
มารยาทการเต้นลีลาศ
1. แต่งกายให้สะอาด ถูกต้อง และเหมาะสมตามกาลเทศะซึ่งจะเป็นการสร้างความสนใจในบุคลิกภาพของตนเอง
2. อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด กำจัดกลิ่นต่าง ๆ ที่น่ารังเกียจ เช่น กลิ่นปาก กลิ่นตัว

3. ควรใช้เครื่องสำอางที่มีกลิ่นไม่รุนแรงจนสร้างความรำคาญให้กับผู้ที่อยู่ใกล้ชิดหรือกับคู่ลีลาศ
ของตน

4. มีการเตรียมตัวล่วงหน้าโดยฝึกซ้อมลีลาศในจังหวะต่าง ๆ เพื่อสร้างความสนใจในการเต้นลีลาศ
5. สุภาพบุรุษต้องให้เกียติสุภาพสตรี และบุคคลอื่นในทุก สถาณการณ์ และจะต้องไปรับ  สุภาพสตรีที่ตนเชิญไปร่วมงาน
 
6. ไปถึงบริเวณงานให้ตรงตามเวลาที่ระบุในบัตรเชิญ
7. ไม่สูบบุหรี่ เคี้ยวหมากฝรั่ง หรือของคบเคี้ยวใดๆ ในขณะลีลาศ
8. ไม่ควรพูดเรื่องปมด้อยของตนเอง หรือคู่ลีลาศ
9. ไม่ดื่มสุรามากจนครองสติไม่อยู่ ถ้ารู้สึกว่าตัวเองเมามากไม่ควรเชิญสุภาพสตรีออกลีลาศ
10. ไม่ควรออกลีลาศกับคู่เพศเดียวกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น